อาชีพฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์

อาชีพฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์

แนะนำอาชีพฝ่ายฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ว่าต้องทำอะไรบ้าง มีการทำงานอย่างไร เพื่อนๆจะได้เอาไปเป็นความรู้ประกอบการอาชีพที่เหมาะสมและสนใจ ซึ่งการเลือกเรียน สาขาการจัดการโลจิสติกส์ เป็นหนึ่งในสาขาของ คณะบริหารธุรกิจ ในที่นี้เราพูดถึง ม.เอกชน ก็คือ ม.รังสิต หรือ มหาวิทยาลัยรังสิตนั่นเอง ปัจจุบันสาขาการจัดการโลจิสติกส์กำลังมาแรงเลยทีเดียว มีคนเรียนเป็นจำนวนมาก
"Supply Chain Management" คือกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขั้นตอนการทำงานทั้งหมด (managing flows) เพื่อลดค่าใช้จ่ายและพัฒนาคุณภาพและระดับสินค้าคงคลัง ซึ่งหมายถึงการประสานข้อมูลจากลูกค้า ผ่านกระบวนการผลิต และจัดการสายการผลิตของสินค้าจนเสร็จสมบูรณ์ 
ระบบซัพพลายเชนอาศัยขบวนการทำงานร่วมจำนวนมากเพื่อผลิตสินค้าที่ถูกต้องตามความต้องการของลูกค้า ให้ถูกที่ ถูกเวลา และถูกจำนวน จึงต้องอาศัยการประสานงานที่ดีจากหน่วยการผลิตต่างๆ การขาย การตลาด การเงิน และการพัฒนาสินค้า

โลจิสติกส์
โลจิสติกส์

ระบบซัพพลายเชนต้นทาง (upstream supply chain) (วัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จ อุปกรณ์และชิ้นส่วน) มีความแตกต่างจากระบบซัพพลายเชนปลายทาง (downstream supply chain) (สินค้าที่เสร็จสมบูรณ์) เรารวมการทำงานทั้งหมดเป็นซัพพลายเชนRDI (RDI supply chain) ในการจัดการสินค้าสำหรับโครงการพัฒนาใหม่ๆ ความซับซ้อนของระบบซัพพลายเชนต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีเพื่อประมวลข้อมูลจำนวนมากได้ และยังต้องอาศัยความสามารถและประสิทธิภาพของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

จุดประสงค์ของระบบโลจิสติกส์ คือ การจัดการขบวนการทางกายภาพของสินค้าทั้งในและต่างประเทศทั้งหมดโดยแบ่งตามทวีป เน้นการเก็บรักษาและขนส่งสินค้าให้แก่ทุกหน่วยธุรกิจ เช่น วัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จ และสินค้าที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว เป็นต้น
ระบบโลจิสติกส์ทำงานภายใต้โครงสร้างเศรษฐกิจและเป็นตัวบ่งชี้คุณภาพการบริการ และดำเนินการตามกำหนดการขั้นตอนความปลอดภัยและสวัสดิภาพ งานด้านโลจิสติกส์ส่วนใหญ่จะถูกส่งต่อให้บริษัทผู้เป็นพันธมิตรกับเราดำเนินการ หน้าที่ภายในองค์กรด้านนี้จึงมีเพียง การจัดการ ประสานงาน ศึกษา จัดระบบ และการใช้ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง

โอกาสด้านอาชีพในแผนกซัพพลายเชน (Supply Chain)
·         การคาดการณ์ความต้องการ (Demand forecasts)
·         วางแผนการผลิต – วางแผนโรงงาน จัดซื้อวัตถุดิบ จัดการขนส่ง/จัดเก็บ วางแผนด้านกลยุทธ์และกำลังการผลิต
·         วางแผนธุรกิจ “แผนงานการขายและดำเนินการ” S&OP
·         วางแผนกระจายสินค้า การทดแทนสินค้า และทีมจัดหาสินค้า
·         หน่วยสนับสนุน ด้านสินค้าคงคลัง วิศวกรรมด้านซัพพลายเชน สารสนเทศ และการจัดการข้อมูล

กิจกรรมในแผนกโลจิสติกส์
·         ด้านโกดังสินค้า  - จัดการและดำเนินการ รับมอบ ถ่ายเทและจัดเก็บสินค้า เช็คสต็อก และขนส่งไปยังลูกค้า
·         ขนส่ง – ต่อรองทางด้านสัญญา จัดการการขนส่งทั้งทางบกและทางเรือ
·         นำเข้า / ส่งออก – กฏระเบียบทางศุลกากร ประสานงานด้านการขนส่ง
·         จัดกำลัง – ประสานงานระหว่างหน่วยงานและโลจิสติกส์แผนกต่างๆ ในการวางแผนการขนส่งเพื่อกำหนด         
”แผนการขนส่ง” ด้านโลจิสติกส์ เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่ำที่สุด
·         สนับสนุน – ศึกษาวิธีการจัดการโลจิสติกส์แบบใหม่ๆ ที่ได้ผลดี รวมทั้งระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานระบบสารสนเทศ และการจัดการข้อมูล


แหล่งที่มา : http://www.michelincareers.com/th/tha/สาขาอาชีพที่น่าสนใจ/ซัพพลายเชน-และ-โลจิสติกส์